Invisible Connections | A concert for World Migratory Bird Day

(ภาษาไทย ด้านล่าง)

In celebration of World Migratory Bird Day, May 9th 2020, join musicians Simone Slattery (violin) and Anthony Albrecht (cello) for a concert experience like no other: a musical and visual journey from the continental shores and archipelagos of Australasia to the tundra of Siberia and Alaska, tracing the awe-inspiring odyssey of shorebirds as they draw Invisible Connections across the globe.

‘Invisible to the naked eye, above the land and oceans of the world, lie some of the planet’s busiest highways…

…Twice a year, these connecting corridors of activity hum to the endless beats of millions of wings as birds commute between their seasonal homes…

…As they fly and land, and then lift into the clouds again, the flocks weave unseen threads that bind them to the world and its myriad inhabitants in diverse and unexpected ways…beyond our sight…beyond our imaginations…’

Just as migratory birds connect our world, weaving Invisible Connections for thousands of years, so too does music – the universal language that knows no borders.

This 15-minute online performance event, facilitated by the EAAFP and hosted by the Bird Conservation Society of Thailand, is a preview of the Bowerbird Collective’s complete live, multimedia performance piece, based on the story of the East Asian-Australasian Flyway. This is a work in development, with plans for extensive international touring from 2021 onward.

Title and quotations used with generous permission from Invisible Connections – Why Migratory Shorebirds Need the Yellow Sea by Jan van de Kam and colleagues, published by CSIRO Publishing, 2010. Special thanks to Ayuwat Jearwattanakanok and Vivian Fu.

 

Invisible Connections
May 9, 2020 – 5pm Bangkok Time, 8pm Sydney time
15-minute online concert
Youtube Link: https://www.youtube.com/watch?v=VDotxnJ7bBI

 


สายสัมพันธ์ที่มองไม่เห็น

เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง “วันนกอพยพโลก (World Migratory Bird Day)” ที่จะมีขึ้นในวันที่ 9 พฤษภาคม 2563 นี้ ศิลปินชาวออสเตรเลีย Simone Slattery (ไวโอลิน) และ Anthony Albrecht (เชลโล่) ได้จัดคอนเสิร์ทเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของนกอพยพ ผ่านเสียงดนตรีและภาพถ่ายที่บอกเล่าเรื่องราวการเดินทางของนกชายเลนจากชายฝั่งของออสเตรเลียไปจนถึงทุ่งทุนดราในไซบีเรีย และอะแลสกา เป็นการผจญภัยที่เชื่อมสายสัมพันธ์ที่มองไม่เห็นระหว่างหลายประเทศทั่วโลก

‘เส้นทางที่การจราจรคับคั่งที่สุด แต่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า สูงเหนือผืนแผ่นดินและมหาสมุทร…

…เส้นทางสายนี้คราคร่ำไปด้วยเสียงกระพือปีกของนกนับล้านตัวที่บินสัญจรไปมาระหว่างบ้านสองหลังเป็นประจำถึงปีละสองครั้ง…

…ทุกครั้งที่นกเหล่านี้บินขึ้นจากผืนดิน และโผทะยานสู่ท้องฟ้า พวกมันได้ถักทอสายสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงสิ่งมีชีวิตนับไม่ถ้วนบนโลกของเราเข้าด้วยกันในวิถีทางที่เหนือความคาดหมาย เหนือจินตนาการของเรา…’

เช่นเดียวกับนกอพยพที่เชื่อมโลกของเราเข้าด้วยกัน สานสร้างสายสัมพันธ์ที่มองไม่เห็นเป็นเวลานับพันพันปี ดนตรีก็เป็นภาษาสากลที่ไม่รู้จักเขตแดน

คอนเสิร์ทชุดนี้ซึ่งมีความยาวประมาณ 15 นาที ได้รับการสนับสนุนโดย EAAFP และเผยแพร่โดย สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย เป็นบางส่วนของผลงานโดย Bowerbird Collective ที่จะนำเสนอเรื่องราวของนกอพยพในเส้นทางบินอพยพเอเชียตะวันออก-ออสเตรเลีย ซึ่งวางแผนจะจัดแสดงภายในปี 2021

ชื่อคอนเสิร์ทและเนื้อความบางส่วนได้รับการอนุญาตให้ใช้จากหนังสือ Invisible Connections – Why Migratory Shorebirds Need the Yellow Sea โดย Jan van de Kam ตีพิมพ์โดย CSIRO Publishing ปี 2010 และขอขอบคุณคุณอายุวัต เจียรวัฒนกนก และคุณ Vivian Fu ผู้ประสานงาน

 


 

คำบรรยาย / Narration

At the margins of the sea, in a world of murky tides and mudflats, shorebirds begin to gather, feeding and fueling for the journey ahead.

ณ ชายขอบของมหาสมุทร โลกซึ่งปกคลุมไปด้วยโคลนเลน บรรดานกชายเลนออกหาอาหารเพื่อสะสมพลังงานสำหรับการเดินทางที่รออยู่

———————————————————————————

These birds live on land’s edge, periphery of our consciousness.

นกเหล่านี้อาศัยอยู่บนชายขอบของผืนดิน ชายขอบของการรับรู้ของพวกเรา

———————————————————————————

Yet as they fly and land, and then lift into the clouds again, the flocks weave unseen threads that bind them to the world and its myriad inhabitants in diverse and unexpected ways…

แต่พวกมันบินขึ้นลงระหว่างท้องฟ้ากับผืนดิน ถักทอเป็นสายใยที่มองไม่เห็น เชื่อมโยงโลกและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เข้าด้วยกันในหลายหนทางที่เราคาดไม่ถึง

———————————————————————————

This is the story of one of the world’s greatest migrations.

นี่คือเรื่องราวของหนึ่งในการอพยพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก

———————————————————————————

What is it that pulls us to the farthest corners of the globe? This compulsion to travel, to push the limits of physical endurance…

อะไรคือแรงดึงดูดที่ทำให้เราเดินทางไปยังจุดที่ไกลที่สุดบนโลก? อาจเป็นแรงผลักดันที่จะเดินทางเพื่อเพิ่มขีดจำกัดทางกายภาพ

———————————————————————————

Migration is a story as old as time itself – the search for safer ground, for the richest food sources, for reprise from the harshness of the elements, the search for home.

การอพยพเป็นเรื่องราวที่เก่าแก่ เป็นเรื่องราวของการตามหาถิ่นอาศัยที่ปลอดภัย และอุดมไปด้วยแหล่งอาหาร ผ่านการฟันฝ่าความยากลำบาก เพื่อตามหาบ้านหลังใหม่

———————————————————————————

The East Asian-Australasian Flyway is one of eight migration corridors used by shorebirds around the world, reaching from the continental shores and archipelagos of Australasia to the tundra of Siberia and Alaska, crossing 22 countries.

เส้นทางบินอพยพเอเชียตะวันออก-ออสเตรเลีย เป็น 1 ใน 8 เส้นทางบินอพยพทั่วโลกที่นกชายเลนใช้ เชื่อมโยงตั้งแต่หมู่เกาะของทวีปออสเตรเลีย ไปจนถึงทุ่งทุนดราของไซบีเรียและอะแลสกา ครอบคลุมกว่า 22 ประเทศทั่วโลก

———————————————————————————

Millions of birds use this migratory path, guided by magnetic fields, the wind, the sun and the stars, compelled to follow the flight of their forebears in a journey that is as much a part of their DNA as each bird’s unique call.

นกนับล้านตัวใช้เส้นทางบินอพยพสายนี้ โดยอาศัยการนำทางผ่านสนามแม่เหล็ก ลม ดวงอาทิตย์ และดวงดาว ตามรอยของบรรพบุรุษบนการเดินทางที่ฝังลึกอยู่ใน DNA ไม่ต่างจากเสียงร้องที่เป็นเอกลักษณ์ของนกแต่ละชนิด

———————————————————————————

The world of empty flats and muddy tides may at first glance resist intimacy and appreciation…however under a golden sun, the dull, weary surface of the mudflats can be transformed into a sparkling plain of diamonds.

โลกที่เวิ้งว้างและว่างเปล่าของหาดเลน อาจไม่เป็นที่น่าพิศมัยเมื่อครั้งแรกพบ แต่ภายใต้ดวงอาทิตย์ที่ร้อนระอุและโคลนเลนที่หมองหม่น นั้นอุดมไปด้วยทรัพยากรที่มีค่าราวอัญมณี

———————————————————————————

This sleepy Spoon-billed sandpiper is one of less than 200 remaining birds of this species…

นกชายเลนปากช้อนขี้เซาตัวนี้เป็นหนึ่งในไม่เกิน 200 ตัวที่เหลืออยู่บนโลก

———————————————————————————

Curlews and godwits, knots and plovers, stints and sandpipers, these birds have been a constant coming and going for many cultures around the world.

นกอีก๋อย นกปากแอ่น นกน็อท นกหัวโต นกสติ๊นท์ และนกชายเลนอีกนานับชนิด บินอพยพมาและจากไปนับครั้งไม่ถ้วนบนผืนดินของหลายประเทศทั่วโลก

———————————————————————————

Their globe-spanning flights link countries separated by thousands of kilometres, as well as those separated by ideology, language and culture.

การบินอพยพของพวกมันเชื่อมโยงประเทศต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ผ่านระยะทางหลายพันกิโลเมตร โดยไม่สนความแตกต่างทางภาษาหรือวัฒนธรรม

———————————————————————————

Undaunted by the borders drawn on our two-dimensional maps, these feathered travellers remind us that we are connected in ways more profound and substantive than those set forth in the carefully crafted phrases of treaty and trade.

นกเหล่านี้ไม่สนใจเขตแดนของประเทศที่ระบุอยู่บนแผนที่ การเดินทางของพวกมันช่วยตอกย้ำว่าแท้จริงแล้วมนุษย์เราต่างเชื่อมโยงกันในระดับที่ลึกซึ้งและสามัญไปกว่าสนธิสัญญาหรือความสัมพันธ์ทางการค้าใดๆ

———————————————————————————

They represent the passing of time and the change of the season…

การอพยพของนกชายเลนสะท้อนถึงวันเวลาที่ผ่านไป การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล…

———————————————————————————

And in their delicate hollow bones, built for flight, they embody the very essence of the fight for life.

กระดูกที่กลวงเบาของพวกมันถูกวิวัฒนาการขึ้นเพื่อการบิน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้พวกมันต่อสู้เพื่อการอยู่รอดในธรรมชาติ

———————————————————————————

Now we must fight for their lives, as human encroachment decimates the very habitat and food sources that provide the fabric of their migratory existence.

แต่ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่พวกเราจะต้องต่อสู้เพื่อการอยู่รอดของเหล่านกชายเลน เมื่อถิ่นอาศัยและแหล่งอาหารของพวกมันถูกรุกล้ำและทำลายมากขึ้นไปทุกทีโดยฝีมือของมนุษย์

———————————————————————————

They belong to all of us, and none of us.

We must not lose their story.

นกชายเลนไม่ได้เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เชื่อมโยงกับพวกเราทุกคน

เราต้องไม่ทำให้เรื่องราวของพวกมันสูญหายไป

รายงานความคืบหน้าจากพื้นที่อนุรักษ์บ้านปากทะเล / News from Pak Thale Nature Reserve

(English below)

เมื่อเดือนกันยายน 2562 ที่ผ่านมา สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทยได้ทำการซื้อที่ดินขนาด 49-3-3 ไร่ ณ ตำบลปากทะเล อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เพื่อมุ่งพัฒนาเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่ยั่งยืนของนกชายเลนปากช้อนและนกชายเลนอพยพอีกหลายชนิด โดยภายหลังการซื้อที่ดิน สมาคมฯ ได้ดำเนินงานภายในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และประกาศเป็น “พื้นที่อนุรักษ์บ้านปากทะเล” ร่วมกับตัวแทนจาก Rainforest Trust องค์การบริหารส่วนตำบลปากทะเล และสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 3 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา

ภายหลังการประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์บ้านปากทะเล สมาคมฯ ได้รับเกียรติต้อนรับ ท่าน ดร.ยุทธพล อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ คณะข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัดเพชรบุรี เพื่อเข้าเยี่ยมชมพื้นที่อนุรักษ์บ้านปากทะเล เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 ตามด้วยผู้บริหารระดับสูงจากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด นำโดย คุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ คุณธวัช เรี่ยวแรง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ คณะกรรมการด้านความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคม และคุณวัสสชัย สิทธิบุศย์ ผู้อำนวยการฝ่ายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม โดยเป็นการเยี่ยมชมพื้นที่โดยรอบของพื้นที่อนุรักษ์บ้านปากทะเล และชมนกชายเลนปากช้อนซึ่งมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งในระดับโลก จากนั้นเข้าร่วมประชุมหารือร่วมกันระหว่าง นายอำเภอบ้านแหลม องค์การบริหารส่วนตำบลปากทะเล การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเพชรบุรี กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ช่างภาพสื่อมวลชนเพชรบุรี และสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย เพื่อหาแนวทางร่วมมือกันด้านการอนุรักษ์นกชายเลนปากช้อนและแหล่งที่อยู่อาศัยของนกชายเลนในพื้นที่บ้านปากทะเล

สำหรับการดำเนินงานในพื้นที่อนุรักษ์บ้านปากทะเล ระหว่างปี 2563-2564 สมาคมฯ ได้กำหนดแนวทางขับเคลื่อน 5 แนวทางหลัก ได้แก่

  1. สร้างแนวคันดินรอบพื้นที่อนุรักษ์บ้านปากทะเล เนื่องจากปัจจุบันคันนาต่าง ๆ ในระบบนาเกลือไม่ได้เป็นไปตามแนวขอบเขตที่ดิน สมาคมฯ จึงจำเป็นต้องสร้างคันดินรอบพื้นที่ใหม่ พร้อมกับหารือร่วมกันกับผู้ผลิตเกลือในพื้นที่ เพื่อร่วมกันออกแบบระบบการทำนาเกลือใหม่ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตเกลือมากจนเกินไป โดยคาดว่าสามารถเริ่มดำเนินงานได้ในช่วงฤดูฝน (ปลายเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป) เนื่องจากเป็นช่วงที่ผู้ผลิตเลิกทำนาเกลือแล้ว
  2. สำรวจนกชายเลนในพื้นที่อนุรักษ์บ้านปากทะเล และพื้นที่สำคัญสำหรับนกชายเลนโดยรอบ เริ่มต้นสำรวจแล้วเป็นประจำทุกเดือนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 โดยกำหนดจุดสำรวจทั้งสิ้น 6 จุด เพื่อให้ครอบคลุมแหล่งอาศัยหลักของนกชายเลนในพื้นที่ปากทะเล-แหลมผักเบี้ย โดยผลการสำรวจช่วยสะท้อนถึงประชากรของนกชายเลน และช่วยในการออกแบบการจัดการพื้นที่เพื่อให้เหมาะสมต่อการเป็นแหล่งอาศัยของนก
  3. ออกแบบและก่อสร้างบังไพรสำหรับการดูนก โดยอาศัยต้นแบบจากบังไพรดูนกที่สมาคมฯ มีส่วนร่วมในการออกแบบในพื้นที่นาเกลือโคกขาม จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อนำมาประยุกต์และติดตั้งในพื้นที่อนุรักษ์บ้านปากทะเลภายหลังมีการสร้างแนวคันดินเสร็จเรียบร้อย เพื่อให้นักดูนกผู้เข้าเยี่ยมชมพื้นที่สามารถใช้บริการดูนกชายเลนได้ในระยะใกล้โดยไม่รบกวนนกมากจนเกินไป
  4. ดำเนินงานร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ภายใต้โครงการป่าในเมือง บริหารโดยสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 3 (สบทช.3) เพื่อร่วมกันกำหนดขอบเขตและบริหารจัดการพื้นที่เพื่อให้เป็นแหล่งอาศัยของนกชายเลน
  5. การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยประสานงานร่วมกับ สบทช.3 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อสร้างแนวกันคลื่นโดยใช้ไม้ไผ่ปักชะลอคลื่นระยะทาง 4 กิโลเมตร เพื่อชะลออัตราการกัดเซาะชายฝั่งซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการสูญเสียถิ่นอาศัยของนกชายเลนในพื้นที่บ้านปากทะเล

ทางสมาคมฯ ขอขอบคุณผู้ร่วมบริจาคทั้งรายเล็กและรายใหญ่ทุกท่านที่ทำให้การซื้อที่ดินลุล่วงไปได้ด้วยดี และทำให้เกิดพื้นที่อนุรักษ์บ้านปากทะเลขึ้นได้ ทั้งนี้ สมาคมฯ ยังคงเปิดรับบริจาคสำหรับผู้ที่ต้องการสนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่อนุรักษ์บ้านปากทะเลตามแนวทางขับเคลื่อนทั้ง 4 หัวข้อที่กล่าวไปข้างต้น โดยผู้ที่ต้องการสนับสนุน สามารถบริจาคมาได้ที่

เลขที่บัญชี 026-2-67477-3
ธนาคารทหารไทย สาขางามวงศ์วาน
ชื่อบัญชี สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย

หรือทาง PayPal โดยสั่งจ่ายมาที่อีเมล์ bcst.th@gmail.com
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Inbox เฟสบุ๊กเพจ https://www.facebook.com/bcst.or.th
อีเมล์ ayuwat@bcst.or.th หรือโทร 02 075 1418 และ 085 618 0532 (คุณอายุวัต)

 


 

News from Pak Thale Nature Reserve

In September 2019, the Bird Conservation Society of Thailand (BCST) completed the land purchase at Pak Thale, Ban Laem, Phetchaburi. The land purchase was aimed to establish a secure habitat for Spoon-billed Sandpipers and other shorebirds at Pak Thale. BCST later announced the “Pak Thale Nature Reserve” together with the Rainforest Trust, Pak Thale Subdistrict Administration Office and the Department of Marine and Coastal Resources on 21 January 2020.

After the announcement of a nature reserve, BCST welcomed Dr.Yuttapon Angkinan, Consultant of the Minister of Natural Resources and Environment, and governmental representatives from the provincial offices in Phetchaburi, to visit Pak Thale Nature Reserve on 26 February 2020, followed by a visit from Toyota Motor Thailand led by Mr.Ninnart Chaithirapinyo (Chairman to the Board), Mr.Tawat Reowraeng (Assistant Managing Director) and Mr.Wassachai Sittibut (Director of Safety and Environment) on 5 March 2020. Both visits were aimed to introduce Pak Thale Nature Reserve to the guests and show the importance of conserving Spoon-billed Sandpiper and other shorebirds. After a walk around the reserve, a meeting was held at Pak Thale Subdistrict Administration Office and was joined by District Chief of Ban Laem, Pak Thale Subdistrict Administration Office, Tourism Authority of Thailand (Phetchaburi), Department of Marine and Coastal Resources, Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, media and representatives from BCST to discuss about future collaborations on conserving shorebirds and their habitats at Pak Thale.

BCST has set 5 priority actions to be carried out at Pak Thale Nature Reserve between 2020-2021 as follows.

  1. Build new earthen embankment around the reserve property as the current salt pan layout does not follow the property boundaries. BCST is in the process of designing a new salt pan layout together with the salt farmers to minimize impacts from the buildup of the embankment around the reserve. BCST plans to start the construction in late May (wet season) when the salt harvesting season is over.
  2. Monthly bird surveys in Pak Thale-Laem Phak Bia. BCST has started monthly bird surveys in Pak Thale and Laem Phak Bia area since November 2019 covering 6 most important sites for shorebirds. Data from the survey will reflect populations and trends of shorebirds, particularly the Spoon-billed Sandpiper and other globally threatened species. It will also help BCST design further habitat management in the reserve to attract shorebirds, as well as positioning the birdwatching hides.
  3. Design and construct birdwatching hides for visitors based on a hide that BCST co-designed for Khok Kham Nature Conservation Club. The hides will be built upon the new embankment around the reserve to allow visitors to observe shorebirds at close range without disturbing them.
  4. Collaborate with the Department of Marine and Coastal Resources (DMCR) under the project “Urban Forest” which BCST will focus on the zoning of Pak Thale for both mangrove plantation and managing shorebirds habitat.
  5. Preventing coastal erosions at Pak Thale in collaboration with the DMCR through bamboo fencing along the shore line for the distance of 4 kilometers.

Once again, BCST would like to express sincere gratitude towards everyone who has supported the land purchase. No matter how big or small your contribution was, it really helped made “Pak Thale Nature Reserve” possible. BCST is still accepting donations and support from anyone who would like to help conserve the globally threatened shorebirds. Further support will be used for the priority actions as mentioned above. Donations can be made via the following channels.

Via bank transfer
Bank name: TMB Bank
Bank address: Ngamwongwan branch, Nonthaburi, Thailand
Swift code: TMBKTHBK
Beneficiary name: Bird Conservation Society of Thailand
IBAN number: 026-2-67477-3

Via PayPal
Please make a payment to bcst.th@gmail.com

For more information, please contact ayuwat@bcst.or.th or via our Facebook page https://www.facebook.com/bcst.or.th

งาน “1st Asian BirdLife Festival and Nature Expo 2020”

 

(Scroll down for English)

สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย ร่วมกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และ กลุ่มบริษัทโตโยต้า ได้จัดงาน “1st Asian BirdLife Festival and Nature Expo 2020” ณ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ปทุมธานี โดยมี ดร.ยุทธพล อังกินันท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงานเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2563

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน คือ เพื่อส่งเสริมให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์นกและธรรมชาติแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป เผยแพร่ผลงานและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์นกทั้งในและต่างประเทศ ระดมทุนและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรเครือข่ายภายในประเทศ รวมถึงภาคีเครือข่ายในทวีปเอเชียของ BirdLife International ซึ่งเป็นองค์กรอนุรักษ์นกที่มีเครือข่ายมากกว่า 100 องค์กรทั่วโลก โดย น.สพ.เกษตร สุเตชะ นายกสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย ได้กล่าวว่า “การจัดงานครั้งนี้เป็นการรวบรวมองค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับการอนุรักษ์นกไว้มากที่สุดในเอเชีย ทั้งจากเมืองไทยและต่างชาติ โดยนอกจากให้ห้ผู้ที่มาร่วมงานได้ซึมซับธรรมชาติ ได้เรียนรู้กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการแสดงให้ชาวต่างชาติเห็นว่าเมืองไทยมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง”

ภายในงานประกอบไปด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การนำเสนอผลงานด้านการอนุรักษ์จากองค์กรทั้งในและต่างประเทศ เวทีเสวนาโดยผู้เชี่ยวชาญชาวไทยและต่างชาติ การแสดงภาพถ่ายสัตว์มีค่า ป่ามีคุณ กิจกรรมจากแอพพลิเคชัน Doo Nok และเทคโนโลยี VR (Virtual Reality) ที่จำลองภาพบรรยากาศของแหล่งท่องเที่ยวด้านธรรมชาติ ทั้งภายในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และเครื่องดื่มจาก Jungle Café โดยบริษัท ซีพี บีแอนด์เอฟ (ไทยแลนด์) จำกัด โดยคุณประพาฬพงศ์ มากนวล รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคม กลุ่มทรู ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญในการอนุรักษ์นกและสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน โดยผนวกกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะแอพพลิเคชัน  Doo Nok ที่กลุ่มทรูได้พัฒนาขึ้นร่วมกับสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย เพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลของนกในเมืองไทยที่มีอยู่มากกว่า 1,000 ชนิด และปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ เช่น การแข่งขันแฟนพันธุ์แท้นกเมืองไทย กิจกรรมเรียนรู้ธรรมชาติ กิจกรรม Bird Walk การแสดงสินค้าและนิทรรศการของภาคีเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยงานของรัฐ บริษัท ร้านค้า มูลนิธิ ชมรม สมาคมต่าง ๆ

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนงานอนุรักษ์นกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นกชายเลนปากช้อน เพื่อให้สอดคล้องกับพันธสัญญาที่เป็นความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมของโตโยต้า ที่จะต้องบรรลุผลสำเร็จให้ได้ในปี ค.ศ.2050 ในการสร้างสังคมแห่งความยั่งยืนที่เป็นมิตรและกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม โตโยต้า จึงได้ทำพิธีส่งมอบรถยนต์ให้แก่องค์กรอนุรักษ์ Biodiversity and Nature Conservation Association (BANCA) ประเทศเมียนมา ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรเครือข่ายของ BirdLife International โดย คุณโยชิอากิ อิชิโมโตะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า ไดฮัทสุ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด และคุณโยชิฮิซะ โทโนซึกะ Deputy Managing Director บริษัท โตโยต้า เมียนมาร์ จำกัด เป็นผู้แทนในการส่งมอบ ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของโตโยต้าภายใต้โครงการ Toyota Today For Tomorrow เพื่อสนับสนุนงานอนุรักษ์ทั่วโลก ด้วยความมุ่งหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้สังคมวงกว้างตระหนักถึงความจำเป็นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์นกชายเลนปากช้อนซึ่งใกล้สูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง

คุณโยชิอากิ อิชิโมโตะ กล่าวว่า “เพื่อสร้างสังคมแห่งความยั่งยืนที่เป็นมิตรและกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม ดังพันธสัญญาที่เป็นความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมของโตโยต้า ที่จะต้องบรรลุผลสำเร็จให้ได้ในปี ค.ศ. 2050 โตโยต้ามีความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อการส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติโดยรอบชุมชนของเรา เราเชื่อว่ารถที่บริจาคจะถูกนำมาใช้อย่างดีในการสนับสนุนความพยายามที่สำคัญของ BANCA ในการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศเมียนมา

รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการจัดงานจะนำไปใช้เพื่อสนับสนุนงานอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) และใกล้สูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง (Critically Endangered) ตามบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List of Threatened Species) อาทิ นกชายเลนปากช้อน นกทะเลขาเขียวลายจุด นกน็อตใหญ่ และนกอีก๋อยตะโพกสีน้ำตาล ที่อพยพมาอาศัยอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งของตำบลปากทะเลไปจนถึงตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นประจำทุกปีตลอดช่วงฤดูหนาว และเป็นพื้นที่ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่เครือข่ายอนุรักษ์นกอพยพในเส้นทางการบินเอเชียตะวันออก-ออสเตรเลีย (East Asian-Australasian Flyway Network Site) โดยสมาคมฯ ได้ดำเนินการซื้อที่ดินขนาดประมาณ 50 ไร่ในพื้นที่ตำบลปากทะเล และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่ยั่งยืนของนกชายเลนอพยพที่หายากและใกล้สูญพันธุ์เหล่านี้ ผ่านการประสานร่วมกันกับทั้งหน่วยงานภาครัฐ ชุมชนท้องถิ่น นักดูนก และนักอนุรักษ์ทั้งในและต่างประเทศ

งาน “1st Asian BirdLife Festival and Nature Expo 2020” จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 18-19 มกราคม พ.ศ.2563 ณ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ปทุมธานี โดยมีหน่วงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศกว่า 35 หน่วยงาน จาก 9 ประเทศเข้าร่วมจัดกิจกรรม


Bird Conservation Society of Thailand (BCST) in collaboration with the National Science Museum (NSM) and Toyota held the “1st Asian BirdLife Festival and Nature Expo 2020” at Rama 9 Museum, Pathum Thani. The event was honored by Dr. Yutthaphon Angkinan, Advisor to the Minister of Natural Resources and Environment, as the chair of the opening ceremony on 18 January 2020.

The objectives of the event include promoting nature education and awareness among children and general public, presenting conservation efforts by nature conservation organizations both from Thailand and abroad, fundraising for conservation projects and strengthening the network between local conservation organizations, as well as BirdLife partners all around Asia. Dr. Kaset Sutasha, Chairman of BCST, expressed that “The 1st Asian BirdLife Festival and Nature Expo is the biggest bird conservation event in Asia which brings together both Thai and international organizations from all around the region. Apart from raising awareness on environmental issues for the visitors, it is the event that showcases conservation efforts that are being done in Thailand to the world”.

Activities within the festival include showcasing bird and nature conservation efforts by both Thai and international organizations, talks and lectures by experts, wildlife photography exhibition, nature games by “Doo Nok” application and VR (virtual reality) technology by True Corporation, as well as drinks from Jungle Café by CP B&F Thailand. Mr. Prapanpong Maknual, Deputy Director of Social Enterprise Activities Division, True Corporation, expressed the importance of bird conservation and environmental protection in daily life, as well as combining technological innovation and conservation, such as the “Doo Nok” application which is developed by True Corporation in collaboration with BCST, to make knowledge about birds and environment more accessible to the public. Art exhibitions and workshops, as well as booths by local and international partners were also showcased at the festival.

Moreover, to strengthen the support for conservation organizations in South-east Asia, Toyota aligning with one of its global environmental challenges 2050 to “Establish a future society in Harmony with Nature” also held a symbolic handover of Toyota Car Donation program to the Biodiversity and Nature Conservation Association (BANCA) – a BirdLife International partner in Myanmar, presided by Mr. Yoshiaki Ishimoto, Vice President of Toyota Daihatsu Engineering and Manufacturing, Co., Ltd., in the presence of Mr. Yoshihisa Tonozuka, Deputy Managing Director of Toyota Myanmar Co., Ltd. This initiative also recognizes and helps nurture the nearly extinct Spoon-billed Sandpiper in the region with the broader goal of conserving natural environment which is essential for the society.

Mr. Yoshiaki commented, “In line with our goal to help achieve a “future society with harmony with nature” as part of the Toyota Environmental Challenge 2050, Toyota is committed in working with partners to enrich the natural environment surrounding our communities. We believe the donated car will be well used to support BANCA’s essential efforts to preserve the biodiversity in the country of Myanmar.”

Profits raised from the event will support the conservation of the rare and critically endangered species in Thailand with the focus on migratory shorebirds such as Spoon-billed Sandpiper, Spotted Greenshank, Great Knot and Far Eastern Curlew. BCST continues to drive its mission towards the conservation of these globally endangered species which migrate to the coastal areas of Pak Thale and Laem Phak Bia in Ban Laem, Phetchaburi regularly during winter.

The “1st Asian BirdLife Festival and Nature Expo 2020” was held during 18-19 January 2020 at Rama 9 Museum, National Science Museum, Pathum Thani with 35 local and 9 international partners participated in the event.

สรุปผลการซื้อที่ดินเพื่อการอนุรักษ์บ้านปากทะเล

(English below)

วันนี้ (6 กันยายน 2562) ตัวแทนจากสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการรับโอนกรรมสิทธิที่ดินขนาด 49-3-90 ไร่ ในพื้นที่บ้านปากทะเล อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์ โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งอาศัยที่เหมาะสมและยั่งยืนสำหรับนกชายเลนปากช้อน และนกชายเลนอพยพที่ใกล้สูญพันธุ์อีกหลายชนิด และเป็นสถานที่ศึกษาเกี่ยวกับนกและระบบนิเวศชายฝั่งต่อไปในระยะยาว รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สำหรับนักดูนกและบุคคลทั่วไป การซื้อที่ดินครั้งนี้จะไม่สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้เลย หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กร Rainforest Trust มูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา ครอบครัวริ้วตระกูล ครอบครัวกาญจนะวณิชย์ และผู้ร่วมบริจาคสนับสนุนโครงการทุกท่าน ทางสมาคมฯ ขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงอีกครั้ง

โดยยอดรับบริจาคแบ่งเป็น ยอดบริจาคจาก Rainforest Trust จำนวน 6,206,523.55 บาท และยอดบริจาคอื่น ๆ จำนวน 3,171,938.51 บาท รวมทั้งสิ้น 9,378,462.06 บาท และมีค่าใช้จ่ายได้แก่ ค่าที่ดิน 6,800,000.00 บาท (จากราคาเดิม 10,495.000.00) และค่าโอน 1,364,925.00 บาท รวมทั้งสิ้น 8,164,925.00 บาท

ทั้งนี้ สมาคมฯ ยังคงเปิดรับบริจาคสำหรับผู้ที่ต้องการสนับสนุนโครงการ เพื่อนำไปเป็นทุนในการบริหารจัดการพื้นที่ ได้แก่ การปรับพื้นที่ให้เหมาะสมสำหรับนกชายเลน การผันน้ำเพื่อสร้างแหล่งอาหาร การสร้างบังไพรดูนก การเก็บข้อมูลนกและระบบนิเวศในพื้นที่ และที่สำคัญคือการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากที่ดินแปลงนี้ถูกกัดเซาะไปแล้วประมาณ 22 ไร่ จึงจำเป็นต้องมีการฟื้นฟูและป้องกันอย่างเร่งด่วน ผู้ที่ต้องการสนับสนุน สามารถบริจาคมาได้ที่

เลขที่บัญชี 026-2-67477-3
ธนาคารทหารไทย สาขางามวงศ์วาน
ชื่อบัญชี สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย

หรือทาง PayPal โดยสั่งจ่ายมาที่อีเมล์ bcst.th@gmail.com
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Inbox เฟสบุ๊กเพจ https://www.facebook.com/bcst.or.th
อีเมล์ ayuwat@bcst.or.th หรือโทร 02 075 1418 และ 085 618 0532 (คุณอายุวัต)


Today (6 September 2019), representatives from Bird Conservation Society of Thailand (BCST) has completed the purchase of the land at Pak Thale, Phetchaburi. The purchased land will be managed as a nature reserve for wintering Spoon-billed Sandpipers and other migratory shorebirds in the long-term. It will also serve as a place for shorebirds and coastal ecosystem research and ecotourism. This purchase would not be possible without the support from the Rainforest Trust, Suthirat Yoovidhya Foundation, Reutrakul family, Kanjanavanit family and everyone who has donated for this cause. Once again, BCST would really like to express our sincere gratitude for supporting us to secure winter home for these globally threatened species.

Detail of the support is as follows;  6,206,523.55 THB from the Rainforest Trust and 3,171,938.51 THB from other donors; total 9,378,462.06 THB. Detail of the payment is as follows; 6,800,000.00 THB for land purchase (reduced from the original price 10,495.000.00 THB) and 1,364,925.00 THB for transfer fee; total 8,164,925.00 THB.

BCST is still accepting donations and support from anyone who would like to help conserve the globally threatened shorebirds. Further support will be used to manage the land including landscaping and water management to create suitable habitat, construction of hides and other facilities and surveying of birds and biodiversity in the area. Moreover, it will be used for prevention of coastal erosion which is a serious threat to the whole Pak Thale landscape and has already eroded approximately 3.5 ha (out of 8 ha) of this property. Donations can be made via the following channels.

Via bank transfer
Bank name: TMB Bank
Bank address: Ngamwongwan branch, Nonthaburi, Thailand
Swift code: TMBKTHBK
Beneficiary name: Bird Conservation Society of Thailand
IBAN number: 026-2-67477-3

Via PayPal
Please make a payment to bcst.th@gmail.com

For more information, please contact ayuwat@bcst.or.th or via our Facebook page

ขอเชิญเลือกคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ประจำปี 2562-2563

เนื่องจากคณะกรรมคณะกรรมการบริหารของสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติประเทศไทย ชุดปัจจุบันของสมาคมฯ จะหมดวาระลงในวันที่31 ธันวาคม 2561  และได้ประกาศรับสมัครคณะกรรมการบริหารชุดใหม่และตามข้อบังคับสมาคม หมวดที่ 3 ข้อที่ 14 ให้มีคณะกรรมการบริหารคณะหนึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่า 7 คน ไม่เกิน 15 คน ทำหน้าที่บริหารกิจการของสมาคม โดยให้ที่ประชุมใหญ่เลือกนายกสมาคม 1 คน และเลือกกรรมการอื่นอีก 6 คนจากสมาชิกสามัญ ส่วนคณะกรรมการที่เหลือให้คณะกรรมการที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แต่งตั้งจากสมาชิกสามัญ ซึ่งตามตำแหน่งกรรมการของสมาคมมีตำแหน่งและหน้าที่โดยสังเขป ดังต่อไปนี้

 

14.1 นายกสมาคม ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการของสมาคม เป็นผู้แทนสมาคมในการติดต่อกับบุคคลภายนอก และเป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการและการประชุมใหญ่ของสมาคม
14.2 อุปนายก ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกสมาคม ในการบริหารกิจการสมาคม ปฏิบัติตามหน้าที่ที่นายกสมาคมได้มอบหมาย และทำหน้าที่แทนนายกสมาคมเมื่อนายกสมาคมไม่อยู่ หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้
14.3 เลขานุการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคมทั้งหมด เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของสมาคมในการปฏิบัติกิจการของสมาคม และปฏิบัติตามคำสั่งของนายกสมาคม ตลอดจนทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการประชุมต่างๆของสมาคม
14.4 เหรัญญิก มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของสมาคม เป็นผู้จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย บัญชีงบดุลของสมาคม และเก็บเอกสารหลักฐานต่างๆ ของสมาคมไว้เพื่อการตรวจสอบ
14.5 ปฏิคม มีหน้าที่ในการต้อนรับแขกของสมาคม เป็นหัวหน้าในการจัดเตรียมสถานที่ของสมาคม และจัดเตรียมสถานที่ประชุมต่างๆ ของสมาคม
14.6 นายทะเบียน มีหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนสมาชิกทั้งหมดของสมาคม ประสานงานกับเหรัญญิกในการเรียกเก็บเงินค่าบำรุงสมาคมจากสมาชิก
14.7 ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เผยแพร่กิจการและชื่อเสียงเกียรติคุณของสมาคมให้สมาชิกและบุคคลทั่วไปรู้จักแพร่หลาย
14.8 กรรมการตำแหน่งอื่นๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควรกำหนดให้มีขึ้นโดยมีจำนวนเมื่อรวมกับตำแหน่งกรรมการตามข้างต้นแล้วจะต้องไม่เกินจำนวนที่ข้อบังคับกำหนดเอาไว้  แต่ถ้ากรรมการมิได้กำหนดตำแหน่งก็ถือว่าเป็นกรรมการกลาง
โดยบัดนี้ได้มีผู้สมัครเป็นนายกสมาคมฯ 1 ท่าน และกรรมการบริหาร 7 ท่าน จึงขอเชิญสมาชิกสมาคมฯ ลงคะแนนเสียงเพื่อเลือกคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ประจำปี 2562-2563 ได้ที่ https://bit.ly/2JtwK3O
ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 8 มิถุนายน 2562  และจะประกาศผลวันที่ 10  มิถุนายน 2562

 

นอกจากนี้ สมาชิกที่สนใจสามารถร่วมการประชุม Annual General Meeting (AGM) ได้ในวันที่ 8 มิถุนายน 2562 ณ สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย (แผนที่) เวลา 13.00-15.00 น.

กำหนดการ Annual General Meeting (AGM)

วันที่ 8 มิถุนายน 2562 เวลา 13.00-15.00 น.

  • แนะนำผู้สมัครเลือกตั้ง นายกเก่ากล่าวขอบคุณ แนะนำที่ตั้งสมาคม และแนะนำองค์กรอื่นๆ ในสำนักงานเดียวกัน
  • เสวนา พูดคุยเรื่องซื้อที่ดินปากทะเล และโครงการอื่นๆ ของสมาคมฯ
  • พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ พาเยี่ยมชมสมาคมฯ

**หมายเหตุ** สมาคมฯ มีพื้นที่จอดรถจำกัดมาก แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้รถยนต์ส่วนตัว

Help Secure Winter Home for Spoonies

UPDATE

Secure Winter Home for Spoonies : TARGET ACHIEVED!

(Scroll down for English)

สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย ขอขอบพระคุณผู้ร่วมสมทบทุนเพื่อซื้อที่ดินสำหรับงานอนุรักษ์นกชายเลนปากช้อน ณ บ้านปากทะเล อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เป็นอย่างยิ่ง โดยตอนนี้สมาคมฯ สามารถระดมทุนได้ตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้แล้วคือ 1,500,000 บาท และกำลังเริ่มดำเนินการเพื่อซื้อที่ดินผืนดังกล่าว

โครงการนี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กร Rainforest Trust ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลัก ครอบครัวริ้วตระกูล ครอบครัวกาญจนะวณิชย์ และผู้ร่วมบริจาคทุกท่าน การซื้อที่ดินเพื่อสร้างพื้นที่อนุรักษ์ครั้งนี้จะเป็นก้าวใหม่ของการดำเนินงานอนุรักษ์นกชายเลนและพื้นที่ชายฝั่งในประเทศไทย ที่จะช่วยให้นกชายเลนปากช้อนและผองเพื่อนมีแหล่งอาศัยที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ต้องการสนับสนุนงานอนุรักษ์นกชายเลนเพิ่มเติม ยังคงสามารถบริจาคเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานของสมาคมฯ ได้ เนื่องจากภายหลังการซื้อที่ดิน สมาคมฯ ยังจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายในการบริหารและจัดการพื้นที่อีกมาก โดยสามารถแจ้งความประสงค์ในการบริจาคมาได้ตามช่องทางติดต่อด้านล่าง ขอบพระคุณครับ


BCST would like to express our sincere gratitude to everyone who has supported for the land acquisition at Pak Thale, Phetchaburi to establish a nature reserve for the globally threatened Spoon-billed Sandpiper and friends. We have now reached our target of raising 1,500,000 THB for the initial stage.

This project would be impossible without the help from the Rainforest Trust, who is the main supporter, Reutrakul family, Kanjanavanit family and each and every person who has donated for this cause. This project will mark a new step in the conservation of shorebirds and coastal habitats in Thailand, and will secure the wintering ground for many globally threatened shorebirds in the long-term.

However, we are still open for donations to support the management of the area as there will be more management costs to follow after the land purchase. If you are interested in supporting our activities, please see the following detail to contribute or ask for more information.


(Scroll down for English)

สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินงานอนุรักษ์ นกชายเลนปากช้อน (Spoon-billed Sandpiper) และนกชายเลนอพยพที่ใกล้สูญพันธุ์อีกหลายชนิดในพื้นที่บ้านปากทะเล อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี มาเป็นเวลายาวนาน โดยปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อนกชายเลนคือการสูญเสียถิ่นอาศัย อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ จากนาเกลือที่นกสามารถใช้เป็นทั้งแหล่งหาอาหารและแหล่งพักพิงในช่วงน้ำขึ้น กลายเป็นพื้นที่ประเภทอื่นที่นกชายเลนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ เช่น บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่อยู่อาศัย โรงงาน บ่อขุดตักหน้าดิน ฯลฯ

สมาคมฯ จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการรักษาพื้นที่ให้มีสภาพที่เหมาะสมสำหรับเป็นแหล่งอาศัยของนกชายเลนในระยะยาว และหนึ่งในวิธีที่จะรักษาพื้นที่ดังกล่าวได้คือการสร้างพื้นที่อนุรักษ์ เนื่องจากพื้นที่เกือบทั้งหมดในบ้านปากทะเลเป็นที่ดินเอกชน สมาคมฯ จึงต้องการที่จะซื้อที่ดินบางส่วนและจัดการให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์สำหรับนกชายเลน โดยเฉพาะนกชายเลนปากช้อนที่ปัจจุบันคาดว่ามีประชากรเพียงไม่เกิน 400 ตัวทั่วโลก แต่สามารถพบได้เป็นประจำทุกปีในเมืองไทย และพบได้มากที่สุดในบริเวณนาเกลือบ้านปากทะเล

ณ ปัจจุบัน สมาคมฯ ได้รับการสนับสนุนบางส่วนจากองค์กร Rainforest Trust ในการซื้อที่ดินขนาด 49-3-90 ไร่ ในบริเวณนาเกลือบ้านปากทะเล เพื่อจัดการให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์นกชายเลนในอนาคต อย่างไรก็ตาม สมาคมฯ ยังจำเป็นต้องระดมทุนเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถซื้อที่ดินและบริหารพื้นที่ในอนาคตต่อไปได้อย่างยั่งยืน โดยตั้งเป้าหมายในการระดมทุนเอาไว้ที่ 1,500,000 บาท

หากการระดมทุนสำเร็จลุล่วง พื้นที่แห่งนี้จะเป็นพื้นที่อนุรักษ์นกชายเลนที่บริหารโดยภาคเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย และจะสามารถรักษาแหล่งที่อยู่อาศัยของนกชายเลนที่ใกล้สูญพันธุ์ในระดับโลกได้อย่างยั่งยืน

สามารถร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนการซื้อที่ดินเพื่องานอนุรักษ์ได้ที่
เลขที่บัญชี 026-2-67477-3
ธนาคารทหารไทย สาขางามวงศ์วาน
ชื่อบัญชี สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย

หรือทาง PayPal โดยสั่งจ่ายมาที่อีเมล์ bcst.th@gmail.com
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Inbox เพจ หรือโทร 0856180532 (คุณอายุวัต)

 

 

Bird Conservation Society of Thailand (BCST) has been working on conservation of migratory shorebirds, particularly the globally threatened Spoon-billed Sandpiper, at Pak Thale in Phetchaburi province for over a decade. The main threat to the survival of these birds are land use change. Migratory shorebirds depend heavily on salt pans as their feeding and high-tide roosting site. The conversion of salt pans to aquaculture ponds, urban area, factories, land mining, etc. is putting the fate of these globally threatened shorebirds at high risk.

BCST sees the importance of securing habitat for these migratory shorebirds and one way to achieve that is to establish a nature reserve. Because most of the land at Pak Thale are privately owned, BCST has been in negotiation to buy the land which currently covers approximately 8 hectares of salt pans where Spoon-billed Sandpipers and other shorebirds utilise every winter.

Currently, the land acquisition is largely supported by the Rainforest Trust. However, we still need to raise another 1,500,000 THB (47,000 USD) to fully cover all the costs including future management of the site.

If the fundraising is successful, this will be Thailand’s first nature reserve aimed for migratory shorebirds that is managed by a non-governmental organisation.

You can make a donation by the following detail.
Via bank transfer
Bank name: TMB Bank
Bank address: Ngamwongwan branch, Nonthaburi, Thailand
Swift code: TMBKTHBK
Beneficiary name: Bird Conservation Society of Thailand
IBAN number: 026-2-67477-3

Via PayPal
Please make a payment to bcst.th@gmail.com

Via credit card
Please visit Rainforest Trust (http://bit.ly/2Ydp21e) to donate by credit card

For more information, please contact via our Facebook page or ayuwat@bcst.or.th

 

“For sustainable coexistence between birds and people”

 

ประกาศรายชื่อผู้เข้าประกวดวาดภาพระบายสี

รายชื่อผู้เข้าประกวดวาดภาพระบายสี หัวข้อ “นกในโครงการพระราชดำริ” งานเทศกาลดูนกเมืองไทย ครั้งที่ 17 ประจำปี 2561

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน 2561 เวลา 10.00-15.00 น.
ลงทะเบียนรับกระดาษวาดภาพ เวลา 10.00 น.
ส่งผลงานเวลา 13.30-14.00 น.
ประกาศผล 15.00 น.
ณ ห้องกิจกรรมชั้น 1 อาคารบริการวิชาการ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

นางดำเพิน มูลสัน ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6
1.นางสาวศรุตา มูลสัน

นางสุภาพร วงษ์บำรุงจิตร์ ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6
1.ด.ญ.พรวัชรา วงษ์บำรุงจิตร์

นายภาณุพัฒน์ วิบูลรุ่งเรือง ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6
1.ด.ญ.มลิวัลย์ วิบูลรุ่งเรือง

โรงเรียนเขาย้อยวิทยา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
1.ด.ช. ศุภสิน แก่นจักร
2.ด.ช. ปธานิน อินทร์พุ่ม
3.ด.ช. จิรายุทธ สุดสวาท
4.ด.ช. วสันต์ คำรัตน์
5.ด.ญ. อาทิติยาภา บุญตามทัน
6.ด.ช. เมวัณ ธุระชัย
7.ด.ช. พีรพันธ์ อินทนันท์

โรงเรียนเจียหมิน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
1.ด.ญ.บุญญลักษณ์ สายสนธิ์
2.ด.ญ.สุชาดา กองสีนนท์
3.ด.ช.รังสรรค์ ไสวแก้ว

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการปราณบุรี ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
1.ด.ช. อัครินทร์ แสงหาด
2.ด.ญ. ภูริมนตรา จันทร โรงเรียนเทศบาล 3

ชุมชนวัดจันทราวาส ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6
1.ด.ช.พิทาย บานแย้ม
2.ด.ช. ธนาวิทย์ ทองเพชร
3.ด.ช. ปองกิตติ์ อินทรสุภา
4.ด.ญ. ปรัชญาภรณ์ นาคผ่อง

โรงเรียนเทศบาล 4 บ้านบ่อแขม ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6
1.ด.ญ. จิดาภา ศรีคำพงษ์
2.ด.ญ. ภิญญดา พสุนนท์
3.ด.ญ. ฟ้าใส ชัยสิทธิ์
4.ด.ญ. รัตนาภรณ์ พิมพ์เสงี่ยม

โรงเรียนเทศบาล 4 บ้านบ่อแขม ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
1.ด.ญ. ศิริกัญญา มีศิริ
2.ด.ญ. ปัทมวรรณ ผาดศรี
3.ด.ญ. สุชานันท์ คล้ายพลับ
4.ด.ญ. พัชราภา จันทร์หอม
5.ด.ญ. ภานุ เผือกเงิน

โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ จังหวัดเพชรบุรี ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
1.ด.ญ.แสงระวี ศรีอนุชา
2.ด.ญ. สรณ์สิริ คงพิบูลย์
3.ด.ญ. ธีรยา บัวจีน
4.ด.ช. กัมปนาท แก้วถาวร
5.ด.ญ. ภรีนิภา กรีธาธร

โรงเรียนบ้านซันเสร่ ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6
1.ด.ช.ศุภกฤต เเก้วมาลา
2.ด.ญ.รุ่งทิวา แสนภูมิ
3.ด.ญ.กุศลิน ประชากูล

โรงเรียนบูรณะศึกษา ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6
1.เด็กชายพุฒิเมธ สินชัย
2.เด็กหญิงศดานันท์ พาณิชยางกูร
3.เด็กชายเสฏฐพงษ์ พรสกุลไพศาล

โรงเรียนบูรณะศึกษา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
1.เด็กหญิงอชิรญาณ์ พูนเพิ่มสิริกุล
2.เด็กหญิงชมพูนุช เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
3.เด็กหญิงบุญสิตา บุญสู่

โรงเรียนพนัสวิทยาคาร ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
1.ด.ญ. พรรณนิภา พุตสาคร
2.ด.ญ. สุภัสร ฉิมนาคบุญ
3.ด.ช. พงศ์ศิริ เกษรา
4.ด.ญ. อรชนก เสาวลักษณ์
5.ด.ญ. พัชชนิภา เตียงกล
6.ด.ช.จักรวาริช ปั้นประสงค์
7.ด.ญ. ปราณปรียา ชัยศักดิ์ประเสริฐ
8.ด.ญ. สัญญพงษ์ เรืองศิริภาคย์
9.ด.ช. พุทธรักษ์ แชไทยชิ้น
10.ด.ช. ภัคพล เรืองฤทธิ์
11.ด.ช. นครินทร์ กาวีระจันทร์

โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี) ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6
1.ด.ญ. รวิสรา ชนะภัย

โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
1.ด.ญ. อารีญา กล้าการนา
2.น.ส. พลพร เขียวพุ่มพวง
3.ด.ช. เจษฎา สารสง

โรงเรียนวัดหนองคล้า ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6
1.ด.ญกิตติมาภรณ์ พิขุนทด
2.ด.ญ.รมิดา วิญญาสุข
3.ด.ช.ภพกร อ่อนตา
4.ด.ช.พนธกร โลหะเวช
5.ด.ญ.ฐานุตา มะลิซ้อน

โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
1.ด.ญ.ปวริศา กุลวโรตตมะ

โรงเรียนสารวิทยา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
1.เด็กชายพู่กัน สร่องศรี

โรงเรียนสารสาสน์วิเทศนครปฐม ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6
1.ด.ช.อิงคทัช วงศ์ชนกนันท์ ธัญบุรี

ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
1.ลาภวัต จันทร์เพ็ญ
2.ศิริบุญ สิทธิบูรณ์
3.นัฐวุฒิ เพ็ญจันทร์
4.วายุ เหลืองอร่าม
5.สาฬห จิตรนวกานต์

บ้านโรงเรียนรุ่งอรุณ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
1.กตัญญู วุฒิชัยธนากร

บ้านพักแพทย์ โรงพยาบาลนครนายก ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6
1.ด.ญ.ภวิษย์พร ปิยะศิริศิลป์

รร. สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฯ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
1.ดญ. สิริกร พันธุ์วัง

โรงเรียนรุ่งอรุณ ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6
1.ดญ.สุรวีร์ เด่นนินนาท

โรงเรียนรุ่งอรุณ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
1.ด.ช.ปพนธันย์ อุยยานนวาระ

สาธิตจุฬาฯฝ่ายประถม ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6
1.ด.ญ.อาคิรา รัตนาธาร

สาธิตปทุมวัน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
1.ดช.ธงธรพัชร์ ฉมาดล

Notes on the Checklist of Thai birds October 2018

The revised checklist of Thai birds ver. October 2018 can be downloaded here

สำหรับรายชื่อนกเมืองไทย ฉบับปรับปรุงล่าสุด (ตุลาคม 2561) สามารถดาวน์โหลดได้ ที่นี่


ORDER ANSERIFORMES
Family Anatidae

Baikal Teal : genus changed to Sibirionetta

Garganey & Northern Shoveler : genus changed to Spatula

Gadwall, Falcated Duck & Eurasian Wigeon : genus changed to Mareca

 

ORDER PROCELLARIIFORMES
Family Procellariidae

Addition : Bulwer’s Petrel (Bulweria bulwerii) นกจมูกหลอดบุลเวอร์

 

ORDER PELECANIFORMES
Family Threskiornithidae

Addition : African Sacred Ibis (Threskiornis aethiopicus) นกช้อนหอยขาวแอฟริกา; Category C (introduced, with feral breeding stock apparently self-supporting)

 

ORDER GRUIFORMES
Family Rallidae

Purple Swamphen (Porphyrio porphyrio) split and changed to Grey-headed Swamphen (Porphyrio poliocephalus); note the race ‘viridis’ now treated as subspecies of P. poliocephalus

 

Family Gruidae

Sarus Crane : genus changed to Antigone

 

ORDER CHARADRIIFORMES
Family Haematopodidae

Addition : Eurasian Oystercatcher (Haematopus ostralegus) นกพรานหอย

 

Family Scolopacidae

Addition : Pectoral Sandpiper (Calidris melanotos) นกชายเลนอกลาย

Spoon-billed Sandpiper, Broad-billed Sandpiper & Ruff : genus changed to Calidris

 

Family Laridae

Addition : Sabine’s Gull (Xema sabini) นกนางนวลปลายปากเหลือง

 

ORDER COLUMBIFORMES
Family Columbidae

Spotted Dove (Spilopelia chinensis) split and common name changed to Eastern Spotted Dove (Spilopelia chinensis)

 

ORDER CUCULIFORMES
Family Cuculidae

Asian Drongo Cuckoo (Surniculus lugubris) split and common name changed to Square-tailed Drongo Cuckoo (Surniculus lugubris)

 

ORDER STRIGIFORMES
Family Tytonidae

Eurasian Barn Owl (Tyto alba) split and changed to Eastern Barn Owl (Tyto javanica)

 

ORDER CAPRIMULGIFORMES

Family Podargidae

Blyth’s Frogmouth : Thai name changed to นกปากกบจุดดำ

 

Family Apodidae

Glossy Swiftlet (Collocalia esculenta) split and changed to Plume-toed Swiftlet (Collocalia affinis)

 

ORDER CORACIIFORMES
Family Coraciidae

Indian Roller (Coracias benghalensis) split and changed to Indochinese Roller (Coracias affinis)

 

ORDER PICIFORMES
Family Picidae

Pale-headed Woodpecker (Gecinulus grantia) moved to Category F (occurrence of apparent hybrid individuals without proof of genuine pure individuals)

 

ORDER PASSERIFORMES
Family Calyptomenidae

Green Broadbill (Calyptomena viridis) moved to new family Calyptomenidae

 

Family Pittidae

Eared, Blue-naped, Blue-rumped, Rusty-naped, Giant, Blue, Bar-bellied, Malay Banded & Gurney’s Pitta : genus changed to Hydrornis

Garnet Pitta : genus changed to Erythropitta

 

Family Vangidae

Flycatcher-shrikes, Woodshrikes & Philentomas subsumed to Vangidae

 

Family Campephagidae

Addition : Grey-throated Minivet (Pericrocotus montanus) นกพญาไฟคอเทาปักษ์ใต้

Lesser, Black-winged & Indochinese Cuckooshrike : genus changed to Lalage

 

Family Platylophidae

Crested Jay (Platylophus galericulatus) moved to new family Platylophidae

 

Family Corvidae

Eurasian Jay (Garrulus glandarius) split and changed to White-faced Jay (Garrulus leucotis)

Eurasian Magpie (Pica pica) split and changed to Oriental Magpie (Pica serica)

Addition : Rook (Corvus frugilegus) อีกาโคนปากขาว; Category D (seen in apparently wild state but possibility of escape or release from captivity not excluded)

 

Family Alaudidae

Greater Short-toed Lark (Calandrella brachydactyla) split and changed to Mongolian Short-toed Lark (Calandrella dukhunensis)

 

Family Pycnonotidae

Addition : Red-vented Bulbul (Pycnonotus cafer) นกปรอดก้นแดง; Category F (occurrence of apparent hybrid individuals without proof of genuine pure individuals)

Addition : Ayeyarwady Bulbul (Pycnonotus blanfordi) นกปรอดอิรวดี

Streak-eared Bulbul : split and scientific name changed to Pycnonotus conradi

Addition : Baker’s Bulbul (Iole cinnamomeoventris) นกปรอดเล็กตะนาวศรี

 

Family Hirundinidae

Grey-throated Sand Martin (Riparia chinensis) common name changed to Asian Plain Martin

Common Sand Martin (Riparia riparia) common name changed to Collared Sand Martin

Addition : Pale Sand Martin (Riparia diluta) นกนางแอ่นทรายสีจาง

 

Family Acrocephalidae

Addition : Booted Warbler (Iduna caligata) นกพงขอบหางขาว

 

Family Locustellidae

Pallas’s Grasshopper Warbler : genus changed to Helopsaltes

 

Family Timaliidae

Coral-billed Scimitar Babbler (Pomatorhinus ferruginosus) split and changed to Brown-crowned Scimitar Babbler (Pomatorhinus phayrei)

Chestnut-winged Babbler : genus changed to Cyanoderma

Deignan’s, Rufous-fronted & Golden Babbler : genus changed to Cyanoderma

Pin-striped Tit Babbler : genus changed to Mixornis

 

Family Pellorneidae

Limestone Wren Babbler (Turdinus crispifrons) split to Greyish Limestone Babbler (Turdinus crispifrons) นกจู๋เต้นเขาหินปูน and Rufous Limestone Babbler (Turdinus calcicola) นกจู๋เต้นสระบุรี

 

Family Leiothrichidae

Grey-cheeked Fulvetta : split and common name changed to Yunnan Fulvetta (Alcippe fratercula)

 

Family Zosteropidae

Japanese White-eye : split and changed to Swinhoe’s White-eye (Zosterops simplex) นกแว่นตาขาวหลังเขียว; note race ‘williamsoni’ and ‘erwini’  (resident taxa in mangrove forest) now treated as conspecific with Z. simplex

Oriental White-eye : split and changed to Indian White-eye (Zosterops palpebrosus) นกแว่นตาขาวสีทอง

Everett’s White-eye : split and changed to Hume’s White-eye (Zosterops auriventer) นกแว่นตาขาวสีเหลืองปักษ์ใต้

 

Family Sturnidae

Vinous-breasted Myna : split and scientific name changed to Acridotheres leucocephalus

 

Family Turdidae

Addition : Himalayan Thrush (Zoothera salimalii) นกเดินดงหิมาลัย

 

Family Muscicapidae

Tickell’s Blue Flycatcher (Cyornis tickelliae) split and changed to Indochinese Blue Flycatcher (Cyornis sumatrensis)

White-browed Shortwing (Brachypteryx montana) split and changed to Himalayan Shortwing (Brachypteryx cruralis)

White-tailed Rubythroat (Calliope pectoralis) split and changed to Chinese Rubythroat (Calliope tschebaiewi)

Addition : Red-breasted Flycatcher (Ficedula parva) นกจับแมลงพันธุ์ยุโรป

White-capped Water Redstart : genus changed to Phoenicurus

Eastern Stonechat (Saxicola stejnegeri) lumped and scientific name changed to Saxicola maurus

 

Family Dicaeidae

Addition : Cambodian Flowerpecker (Dicaeum cambodianum) นกกาฝากอกสีเนื้อ

 

Family Emberizidae

Addition : Pine Bunting (Emberiza leucocephalos) นกจาบปีกอ่อนป่าสน

ขอคัดค้านโครงการปรับปรุงพื้นผิวจราจรบริเวณถนนสายบ้านกร่าง-พะเนินทุ่งตลอดเส้น

เนื้อหา เรื่อง ขอคัดค้านโครงการปรับปรุงพื้นผิวจราจรบริเวณถนนสายบ้านกร่าง-พะเนินทุ่งตลอดเส้น นี้ คัดลอกมาจาก จดหมาย ที่สนท.037/2561 เรื่อง ขอคัดค้านโครงการปรับปรุงพื้นผิวจราจรบริเวณถนนสายบ้านกร่าง-พะเนินทุ่งตลอดเส้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ วันที่ 24 ตุลาคม 2561

 


 

สืบเนื่องจากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีการประกาศต่อสื่อสาธารณะ (Facebook) เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2561 เรื่อง ขอปิดการท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเขาพะเนินทุ่ง อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เพื่อดำเนินโครงการปรับปรุงพื้นผิวจราจรบริเวณถนนสายบ้านกร่าง-พะเนินทุ่ง จำนวน 2 โครงการ คือ

1. โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 4 เมตร ระยะทาง 3.4 กิโลเมตร และถนนน้ำล้นคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 แห่ง ความยาวรวม 90 เมตร

2. โครงการปรับปรุงเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยวเขาพะเนินทุ่ง โดยดำเนินการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 4 เมตร ระยะทาง 18.50 กิโลเมตร พร้อมรางระบายน้ำ

ทั้ง 2 โครงการมีระยะทางรวม 21.90 กิโลเมตร และจะทำการปิดแหล่งท่องเที่ยวพะเนินทุ่ง ตั้งแต่ กม.ที่ 15+00 ถึง กม.ที่ 36+500 เป็นระยะเวลา 560 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 โดยอ้างว่าถนนสายบ้านกร่าง-พะเนินทุ่ง ตลอดเส้นทางมีดินถล่ม ถนนยุบตัว น้ำกัดเซาะ ทำให้ถนนไม่สามารถสัญจรไปมาได้ จึงจำเป็นต้องปรับปรุงถนนจากลาดยางเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ลดการกัดเซาะพังทลายของดินที่เป็นพื้นถนน เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวรวมทั้งเป็นเส้นทางตรวจการณ์ในการลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่นั้น

แต่อย่างไรก็ดี การจัดทำโครงการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความกังวลจากสาธารณชนเป็นวงกว้างต่อผลลัพธ์ที่จะตามมาทั้งในระหว่างก่อสร้าง และหลังดำเนินการปรับปรุงถนนเสร็จสิ้น โดยอาจมองข้ามเจตนารมณ์ในการประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองเพื่ออนุรักษ์ผืนป่าและสัตว์ป่าอย่างมีนัยยะสำคัญ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1. โครงการปรับปรุงถนนดังกล่าว ไม่ได้คำนึงถึงหลักการมีส่วนร่วม ไม่มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แม้ว่าจะได้ผ่านกลไกคณะกรรมการที่ปรึกษาอุทยานแห่งชาติ (PAC) แก่งกระจาน มาแล้วเพื่อแสดงความชอบธรรมและการมีส่วนร่วม แต่ท้ายที่สุดอุทยานแห่งชาติซึ่งเป็นของคนไทยทั้งประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่กลับเพิ่งทราบข่าวจากสื่อสาธารณะ (Facebook) เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยไม่มีโอกาสได้ร่วมคิดหรือตัดสินใจหรือร่วมออกแบบถนนที่กระทบต่อระบบนิเวศน้อยที่สุด ทั้งนี้ควรให้เกิดการจัดการพื้นที่โดยอาศัยข้อมูลตามหลักวิชาการ

2. ในระหว่างการก่อสร้างปรับปรุงพื้นผิวถนน เนื่องจากเส้นทางที่กำลังจะดำเนินการปรับปรุงนี้เป็นเส้นทางตัดผ่านพื้นที่ใจกลางอุทยานแห่งชาติ อันเปรียบเสมือนหัวใจของป่าแก่งกระจาน ซึ่งเป็นบ้าน ถิ่นอาศัยของสัตว์ป่ามากมายหลายชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ป่าหายาก อย่าง เสือ หรือ สัตว์ป่าสงวน เช่น เก้งหม้อ เลียงผา ดังนั้นการที่ต้องมีเครื่องจักรกลขนาดหนักที่ต้องใช้ในการก่อสร้าง รถขนปูนที่ต้องวิ่งขนส่งไปมาไม่ต่ำกว่า 5,000 เที่ยว ตลอดระยะเวลาของการก่อสร้าง เสียงและแรงสั่นสะเทือนต่างๆ เหล่านี้จะเข้ามาทำลายความสงบการดำรงชีวิตอย่างปกติสุขในบ้านของสัตว์ป่า รวมถึงการเข้ามาของคนงานก่อสร้างอีกจำนวนมาก อาจเป็นการผลักไสให้สัตว์ป่าที่ก่อนหน้านี้สามารถพบเจอตัวได้ง่ายตลอดเส้นทางบ้านกร่าง-พะเนินทุ่ง ต้องหลบหนีลึกเข้าไปและไม่กล้าออกมาด้านนอกให้เห็นอีกเลย เพราะมีงานวิจัยพบว่าหลังจากที่มีจราจรหนาแน่นขึ้น พื้นที่หากินของสัตว์ป่าหลบหนีออกจากจากแนวถนนมากขึ้น

3. หลังการก่อสร้างปรับปรุงพื้นผิวถนน จากบทเรียนที่ผ่านมาการอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวโดยการปรับปรุงถนนให้ดีขึ้น ถึงแม้จะมีมาตรการรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาหลังการก่อสร้างเสร็จ แต่ไม่อาจการันตีได้ว่ามาตรการเหล่านั้นจะสามารถบังคับใช้ได้จริง การขยายถนนปรับปรุงผิวถนนให้เป็นคอนกรีตตลอดสายนั้น ทำให้การจราจรสะดวก การขับรถสามารถใช้ความเร็วสูงขึ้น และปริมาณรถที่วิ่งจะมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การสูญเสียสัตว์ป่าจากการถูกรถทับ รถชน (roadkills) นั้น เป็นสาเหตุการตายของสัตว์ป่าที่สำคัญมากไม่น้อยกว่าการล่าสัตว์ป่าเลยทีเดียว ดังที่เราเห็นตัวอย่างซากสัตว์ป่าที่ถูกรถชนอยู่เนืองๆ บนถนนที่ตัดผ่านอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ หรือ ปางสีดา สถิติจากเฉพาะถนนที่ตัดผ่านเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน พบมีสัตว์ป่าถูกรถชนตายตายถึงปีละประมาณ 3000 ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการจำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวซึ่งดูจะล้มเหลวในทางปฏิบัติมาตลอดแทบทุกอุทยานฯ อีกทั้งนโยบาย กฎระเบียบนั้นก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดขึ้นกับผู้รับผิดชอบ

อนึ่ง สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นด้วยกับการซ่อมแซมเส้นทางนี้ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน

เพื่อการเดินทางที่ปลอดภัยของทั้งนักท่องเที่ยว และเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ซึ่งใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ของการลาดตระเวน เห็นควรแก้ไขปรับปรุงเฉพาะจุดที่มีความเสี่ยง ชำรุดซ้ำซาก เช่น ช่วงที่มีความลาดชันสูงหรือ จุดที่มีน้ำกัดเซาะ มีดินถล่มซ้ำซาก ด้วยวิธีนี้น่าจะเป็นหนทางลดผลกระทบต่อสัตว์ป่าลงไปได้มาก อีกทั้งยังประหยัดงบประมาณได้ไม่น้อย

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และบุคคลตามรายชื่อแนบท้าย จึงขอคัดค้านโครงการปรับปรุงพื้นผิวจราจรบริเวณถนนสายบ้านกร่าง-พะเนินทุ่งตลอดเส้น และเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้โปรดชะลอโครงการดังกล่าวออกไปก่อนจนกว่าจะได้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น โดยทางสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยินดีเข้าร่วมแลกเปลี่ยนและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อร่วมอนุรักษ์ผืนป่าและสัตว์ป่าต่อไป

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาและขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

 

ขอแสดงความนับถือ
นางสาวแนนซี่ ลิน กิ๊บสัน
ผู้อำนวยการสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย

 

รายชื่อเครือข่ายองค์กรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา
สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
มูลนิธิพื้นที่ชุ่มน้ำไทย
กลุ่มอนุรักษ์และช่วยเหลือสัตว์ป่า
มูลนิธิโลกสีเขียว
บริษัท ไวล์ด เอนเคาน์เตอร์ ไทยแลนด์ จำกัด
กลุ่มศิลปินเพื่อป่าแก่งกระจาน
องค์กรชุมชนตำบลหนองชุมพลเหนือฯ
กลุ่มรักษ์เขาใหญ่
กลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มใบไม้
มูลนิธิธรรมชาติศึกษา
กลุ่ม Save wildlife Thailand

งานเทศกาลดูนกเมืองไทย ครั้งที่ 17 “Race Against Extinction”

งานเทศกาลดูนกเมืองไทย ครั้งที่ ๑๗ “Race Against Extinction”

วันที่ ๒๓-๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ณ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทยดำเนินการจัดงานเทศกาลดูนกเมืองไทย (Thailand Bird Fair) อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๔ จนถึงปัจจุบัน เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ภารกิจและกิจกรรมของสมาคม หน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน และองค์กรเครือข่ายที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั่วประเทศ รวมถึงภาคีเครือข่ายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับนกและธรรมชาติในต่างประเทศ และทำให้กิจกรรมดูนกและการตระหนักถึงการปกป้องถิ่นอาศัยของนกในธรรมชาติได้รับความสนใจและเป็นที่รู้จักจากประชาชนอย่างกว้างขวางมากขึ้น  โดยภายในงานเทศกาลดูนกเมืองไทยประกอบด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การนำดูนกเบื้องต้นจากวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถของสมาคม เวทีเสวนาโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญจากทั้งในประเทศและต่างประเทศในงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์นกและถิ่นอาศัยของนก และการนำเสนองานอนุรักษ์ในด้านอื่นๆ พร้อมทั้งกิจกรรมต่างๆ เช่น การแข่งขันดูนก (Bird Race) การแข่งขันแฟนพันธุ์แท้ “นก” กิจกรรม “Night Watch” การประกวดวาดภาพระบายสี การจัดแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและธรรมชาติ รวมถึงการแสดงนิทรรศการและผลงานของภาคีเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยงานของรัฐ บริษัท ร้านค้า มูลนิธิ ชมรม สมาคมต่างๆ จากในประเทศประมาณ ๔๐ องค์กร และองค์กรอนุรักษ์จากต่างประเทศหลากหลายประเทศอีกประมาณ ๒๐ องค์กรที่เข้าร่วมกิจกรรมจัดบูธแสดงนิทรรศการและผลงาน

สำหรับปี ๒๕๖๑ สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย ได้กำหนดหัวข้อการจัดงานเทศกาลดูนกเมืองไทย ครั้งที่ ๑๗ ประจำปี ๒๕๖๑ คือ “Race Against Extinction” ร่วมกับงาน “รับลม ชมนก พระอาทิตย์ตก ณ แหลมผักเบี้ย” ซึ่งกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ณ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลและการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์นกชนิดต่างๆ ที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) และใกล้สูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง (Critically Endangered) ตามบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List of Threatened Species) อาทิ นกชายเลนปากช้อน นกชนหิน นกจาบปีกอ่อนอกเหลือง นกทะเลขาเขียวลายจุด และเป็ดดำหัวดำ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและความเร่งด่วนในการอนุรักษ์นกชนิดต่างๆ ก่อนที่จะสูญพันธุ์ไปจากเมืองไทยและจากโลกใบนี้ นอกจากนี้ พื้นที่ชายฝั่งของตำบลปากทะเลไปจนถึงตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ยังได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่เครือข่ายอนุรักษ์นกอพยพในเส้นทางการบินเอเชียตะวันออก-ออสเตรเลีย (East Asian-Australasian Flyway Network Site) เนื่องจากเป็นแหล่งอาศัยของนกชายเลนอพยพที่ใกล้สูญพันธุ์จำนวนมาก โดยเฉพาะนกชายเลนปากช้อนซึ่งปัจจุบันคาดว่ามีประชากรเหลืออยู่เพียงไม่เกิน ๔๐๐  ตัวเท่านั้น โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยฯ ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานนั้นมีความเหมาะสมสำหรับเป็นพื้นที่เผยแพร่และเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการอนุรักษ์นก เนื่องจากสามารถเดินทางไปได้สะดวก มีประชาชนเข้ามาพักผ่อนเรียนรู้อยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ อีกทั้งยังมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ธรรมชาติ และยังอยู่ไม่ไกลจากแหล่งดูนกบ้านปากทะเล ตำบลปากทะเล อำเภอบ้านแหลม ซึ่งเป็นแหล่งดูนกที่สามารถพบนกชายเลนปากช้อนได้เป็นประจำอีกด้วย


ตารางกิจกรรม

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2561

โซนพื้นที่โครงการฯ

09.00-18.00

  • ชมนิทรรศการวิทยาศาสตร์การบำบัดน้ำเสีย
  • ขึ้นรถชมวิว เพื่อเข้าชมภายในพื้นที่โครงการฯ เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสีย
  • ชมนิทรรศการและฐานกิจกรรมให้ความรู้เรื่องนก

10.00-12.00

  • รอบที่ 1 การบรรยาย น้ำขึ้นน้ำลง และพระจันทร์ส่งผลต่อธรรมชาติ โดย มูลนิธิธรรมชาติศึกษา ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 1 อาคารบริการวิชาการ

13.00-15.00

  • รอบที่ 2 การบรรยาย น้ำขึ้นน้ำลง และพระจันทร์ส่งผลต่อธรรมชาติ โดย มูลนิธิธรรมชาติศึกษา ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 1 อาคารบริการวิชาการ

15.00-16.00

  • Lecture: การแลกเปลี่ยนโปรแกรมท่องเที่ยวดูนกจากองค์กรเครือข่ายของ BirdLife แต่ละประเทศ

โซนเวทีกลาง และนิทรรศการ

15.00-17.00

  • การแข่งขันตอบปัญหาวิทยาศาสตร์การกำจัดขยะ และบำบัดน้ำเสียตามแนวพระราชดำริ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารศูนย์บริการวิชาการ
  • ประกาศผล มอบโล่รางวัล และทุนการศึกษาการแข่งขันตอบปัญหาวิทยาศาสตร์การกำจัดขยะ และบำบัดน้ำเสียตามแนวพระราชดำริ

โซนร้านค้าชุมชน

10.00-18.00

  • จำหน่ายสินค้าชุมชน จังหวัดเพชรบุรี
  • จำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่ม
  • จำหน่ายของที่ระลึกโครงการพระราชดำริฯ แหลมผักเบี้ย

โซนงานวัด

09.00-22.00

  • ทำบุญไหว้พระขอพร ปิดทองหลวงพ่ออู่ทอง และลอดฐานโบสถ์วัดสมุทรโคดม

18.00-22.00

  • กิจกรรมเล่นเกมส์ และการละเล่นชิงรางวัล
  • กิจกรรมดนตรีรำวงพื้นบ้าน

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2561

โซนพื้นที่โครงการฯ

05.00-17.00

  • Bird Race แข่งขันดูนก โดย BCST **ลงทะเบียนล่วงหน้า >>https://goo.gl/dNbFLT

09.00-18.00

  • ชมนิทรรศการวิทยาศาสตร์การบำบัดน้ำเสีย
  • ขึ้นรถชมวิว เพื่อเข้าชมภายในพื้นที่โครงการฯ เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสีย
  • ชมนิทรรศการและฐานกิจกรรมให้ความรู้เรื่องนก

10.00-12.00

  • การบรรยายอบรมดูนกเบื้องต้น ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 1 อาคารบริการวิชาการ **ลงทะเบียนล่วงหน้า >>https://goo.gl/T4ARhx

13.00-14.00

  • การบรรยาย “งานวิจัยสัตว์หน้าดิน” โดย BCST ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 1 อาคารบริการวิชาการ

15.30-17.00

  • การบรรยาย “หาดทรายเม็ดแรก” วิทยากรโดย อ.พรเลิศ ละออสุวรรณ ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 1 อาคารบริการวิชาการ **รับจำกัด 50 คน** ลงทะเบียนล่วงหน้า >>https://goo.gl/4fFB7L (ค่าใช้จ่าย 100 บาท/คน)

19.00-21.00

  • Night Watch & ดูดาว โดย BCST และมูลนิธิธรรมชาติศึกษา **รับจำกัด 100 คน** ลงทะเบียนล่วงหน้า>> https://goo.gl/3rDyo3 (ค่าใช้จ่าย 100 บาท/คน)

โซนเวทีกลาง และนิทรรศการ

12.00-18.00

  • การประกวดเต้นประกอบเพลงพระราชนิพนธ์ ระดับอนุบาล
  • การประกวดเต้นประกอบเพลงพระราชนิพนธ์ ระดับประถมศึกษา
  • การประกวดร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ประเภทบุคคลทั่วไป

18.00-21.00

  • พิธีเปิดงาน โดย ศ.ดร.เกษม จันทร์แก้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมประจำมูลนิธิชัยพัฒนา
  • ประกาศผล มอบโล่รางวัล และทุนการศึกษา การประกวดเต้นประกอบเพลงพระราชนิพนธ์ ระดับอนุบาล และระดับประถมศึกษา
  • ประกาศผล มอบโล่รางวัล และทุนการศึกษา การประกวดร้องเพลง ประเภทบุคคลทั่วไป
  • ประกาศผล ผู้ชนะกิจกรรม Bird Race
  • ชมการแสดงดนตรีลูกทุ่งวงรวมดาวกระจุย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โซนร้านค้าชุมชน

10.00-18.00

  • จำหน่ายสินค้าชุมชน จังหวัดเพชรบุรี
  • จำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่ม
  • จำหน่ายของที่ระลึกโครงการพระราชดำริฯ แหลมผักเบี้ย

โซนงานวัด

09.00-22.00

  • ทำบุญไหว้พระขอพร ปิดทองหลวงพ่ออู่ทอง และลอดฐานโบสถ์วัดสมุทรโคดม

18.00-22.00

  • กิจกรรมเล่นเกมส์ และการละเล่นชิงรางวัล
  • กิจกรรมดนตรีรำวงพื้นบ้าน

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน 2561

โซนพื้นที่โครงการฯ

07.00-09.00

  • กิจกรรม Bird Walk โดย BCST **ลงทะเบียนล่วงหน้า >>https://goo.gl/AvT46y

09.00-18.00

  • ชมนิทรรศการวิทยาศาสตร์การบำบัดน้ำเสีย
  • ขึ้นรถชมวิว เพื่อเข้าชมภายในพื้นที่โครงการฯ เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสีย
  • ชมนิทรรศการและฐานกิจกรรมให้ความรู้เรื่องนก

10.00-12.00

  • กิจกรรม “แฟนพันธุ์แท้” โดย BCST ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 1 อาคารบริการวิชาการ **ลงทะเบียนล่วงหน้า >>https://goo.gl/UZ27iw

โซนเวทีกลาง และนิทรรศการ

10.00-11.00

  • ลงทะเบียน การประกวดวาดภาพระบายสี “นกในโครงการพระราชดำริฯ แหลมผักเบี้ย” **ลงทะเบียนล่วงหน้า >>https://goo.gl/GDDek8

10.00-14.00

  • การประกวดวาดภาพระบายสี “นกในโครงการพระราชดำริฯ แหลมผักเบี้ย”

14.00-15.00

  • ประกาศผล มอบประกาศนียบัตร และทุนการศึกษา การประกวดวาดภาพระบายสี ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 1 อาคารบริการวิชาการ

โซนร้านค้าชุมชน

10.00-18.00

  • จำหน่ายสินค้าชุมชน จังหวัดเพชรบุรี
  • จำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่ม
  • จำหน่ายของที่ระลึกโครงการพระราชดำริฯ แหลมผักเบี้ย

โซนงานวัด

09.00-22.00

  • ทำบุญไหว้พระขอพร ปิดทองหลวงพ่ออู่ทอง และลอดฐานโบสถ์วัดสมุทรโคดม

18.00-22.00

  • กิจกรรมเล่นเกมส์ และการละเล่นชิงรางวัล
  • กิจกรรมดนตรีรำวงพื้นบ้าน